วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนสมัคร Gmail

1.เข้าไปที่ http://www.google.co.th/
2.คลิกที่คำว่า G-Mali ตรงด้านบนซ้ายของเวปค่ะ ตามกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง

3.คลิกคำว่า สมัครใช้งาน G-Mail ตามกรอบสีแดง
4.หลังจากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อย
1. First name : ชื่อ ใส่ชื่อเราลงไป
2. Last name : นามสกุล ใส่นามสกุลเราลงไป
3. Desird Login Name ชื่อการเข้าสู่ระบบที่ต้องการ
4. Check availability! คลิกเพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ใช้แล้วหรือยัง
5. Choos a password รหัสผ่าน
6. Re-enter a password กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง
7. Security Question เลือกคำถามที่ต้องการ


4.1เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยให้กดเข้าที่ข้อ 1 และ 2 อีกครั้ง หากเข้าแล้วเจอหน้าเวปแบบข้อ 3 ให้กรอบ Username & Password ตามที่สมัครไปก่อนหน้านี้ หากเข้าแล้วไม่พบตามที่กล่าวมา เวปจะลิ้งค์ไปที่หน้าเมล์บ๊อกซ์ดังรูป

จบล่ะนะคะสำหรับวิธีการสมัครที่คิดว่ามันน่าจะละเอียดสุดๆ

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

สถานที่ : พระราชวังแวร์ซายส์
สถานที่ตั้ง :ประเทศฝรั่งเศส

ท่านสามารถดาวโหลดช้อมูลในรูปแบบ microsoft word ได้ที่นี้
http://th.upload.sanook.com/A0/bc14ecb2429435e2e7d01474d6cf8a72

วิธีการแยกขยะ



"ลดปริมาณขยะ ช่วยประหยัดทรัพยากร เริ่มเสียก่อนที่ตัวท่าน"
ขยะ เป็นปัญหาใหญ่อันดับหนึ่งในสังคมปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะสูงถึง 8.5 พันตันต่อวัน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 0.8 - 1 กิโลกรัมต่อวัน จึงเป็นภาระหนักของ กทม. ในการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายนี่เองส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในสังคมมากมาย ได้แก่
- บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
- เป็นแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
- ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ
- ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
- ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม
- เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิด ก๊าชมีเทนจากการฝังกลบขยะ
- ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
โครงการรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะที่ออกมาจากบ้านเรือน สำนักงานและสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน


สาเหตุที่เราทุกคนควรช่วยกันคัดแยกขยะ
"ช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ"
การแยกขยะก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมหาศาลดังต่อไปนี้
1. สามารถลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่จะหายากลงทุกวัน
2. สามารถประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลงจึงใช้งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ เช่น สามารถซื้อถังขยะให้น้อยลง สามารถซื้อรถเก็บขนขยะให้น้อยลง สามารถมีคนงานจำนวนน้อยลง และใช้เงินจ้างในการกำจัดและทำลายขยะน้อยลง ปัจจุบัน กทม. ต้องเก็บขนและทำลายขยะวันละเกือบ ๙,๐๐๐ ตัน ต้องใช้งบประมาณถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท/ต่อปี ในการจัดการเก็บขนและทำลายขยะ ใช้เจ้าหน้าที่กว่า ๑๐,๐๐๐ คน ใช้รถเก็บขนขยะกว่า ๒,๐๐๐ คัน ใช้เรือเก็บขนขยะหลายสิบลำ ใช้ถังขยะนับหมื่นใบ ต้องจ้างฝังกลบขยะในราคาตันละกว่า ๑๐๐ บาท และใช้เงินเป็นเงินเดือนเจ้าหน้าที่อีกมหาศาล ถ้าปริมาณขยะลดลง งบประมาณก็สามารถเหลือนำไปพัฒนางานด้านอื่นได้ เช่น ซ่อมแซมถนน สร้างสวนสาธารณะ และการรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งงบประมาณเหล่านี้ก็ได้จากภาษี และค่าธรรมเนียมที่พวกเราทุกคนจ่ายให้แก่ กทม.
3. สามารถได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เช่น กระดาษ ๑ ตัน ได้มาจากการตัดต้นไม้ใหญ่ถึง ๑๗ ต้น เพื่อมาใช้ทำเยื่อกระดาษ
4. สามารถสงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน จากข้อ 3 จะได้ผลเป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
5. สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้นปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง 5 ประการก็เป็นผลประโยชน์ของเราทุกคนร่วมกัน



เราจะช่วยแยกขยะกันอย่างไรบ้าง
กรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) ขยะเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ หรือที่แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร พืช ผัก เปลือก ผลไม้ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย มีความชื้นสูงและส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว
2) ขยะยังใช้ได้หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล หรือที่ แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะแห้ง ได้แก่ พวก แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เศษผ้า ฯลฯ ซึ่งเราสามารถเลือกวัสดุที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ได้อีก
3) ขยะที่มีพิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือน กทม. ได้ตั้งถังสีเทาฝาสีส้ม ไว้สำหรับให้ประชาชนนำขยะ ที่พิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือนมาทิ้ง โดยตั้งไว้ตามสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ ซึ่งขยะพวกนี้ ได้แก่ หลอดไฟ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสียแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ และถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่แลกเกอร์ และทินเนอร์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเบรก น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ยารักษาโรค ที่เสื่อมคุณภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้จัดให้มีวันทิ้งของเหลือใช้ เพื่อให้ประชาชนนำขยะประเภทนี้มาทิ้ง จากนั้นก็จะจ้างบริษัทเอกชนนำไปทำลายอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป

ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ
ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย
หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ
กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง
ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง
ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ
เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา
สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส ยาเบื้อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ
ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ


วิธีการลดขยะได้ด้วย 4 Rs
"ปัญหาขยะจะหมดไปด้วยจิตสำนึกไทยรีไซเคิล"
1. Reduce ลดการใช้ ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลายชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
2. Repair การซ่อมแซม การซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. Reuse การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม
4. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล
โดยทั่วไปการแยกขยะที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน โรงเรียน ตลาดโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และสถานที่อื่น ๆ นั้นแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ขยะเศษอาหาร แยกเพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีปุ๋ยหมัก
2. ขยะยังใช้ได้ หรือขยะรีไซเคิลแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ โดยการนำกลับเข้าสู่ขบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล คือ การนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ โดยโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีขบวนการผลิต 4 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวม การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน การผลิตหรือปรับปรุง และสุดท้าย การนำมาใช้ประโยชน์ โดยในส่วนของขั้นตอนการผลิต นั้นวัสดุพวกแก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ จะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน
3. ขยะพิษ แยกเพื่อรวบรวมส่งกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจใช้ได้ทั้งวิธีการฝังกลบโดยวิธีพิเศษ และการเผา
หลังจากวัสดุผ่านกระบวนการผลิต จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยจะพบสัญลักษณ์รีไซเคิล ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทุกชิ้น
อ้างอิง http://www.bu.ac.th/hotnews/iso/isomain3.html

ขยะไม่เป็นพิษ หากรู้จักแยกก่อนทิ้ง

เกร็ดความรู้

วิธีลดพิษภัยจากขยะ
(หทัยภรณ์ บุญพรหม)

"ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา" จะเผชิญภัยร้ายก่อนที่จะแก้ไขกันหรือ?
ฉันปัดแมลงสาปที่ไต่ยั้วเยี้ยบนโต๊ะกับข้าว แมลงวันทั้งหัวเขียวหัวดำบินว่อน พยายามที่จะไต่ตอมบนจานอาหาร ฉันต้องไล่ปัดมันทั้งวัน เจ้าพวกหนูบ้านแสนสกปรกก็วิ่งลอดใต้ขาฉันไปมาเป็นระยะ น่าเบื่อจริงๆ ทั้งๆ ที่ฉันแสนจะรังเกียจเจ้าพวกสัตว์และแมลงเหล่านี้ แต่ฉันจำต้องอยู่กับมันทุกวัน ทุกคืน ทุกชั่วโมง โดยเฉพาะแมลงสาปที่เมื่อก่อนแม้สักตัวเดียว ถ้าฉันเห็นมันเมื่อใด ฉันจะกรีดร้องและกระโดดหนีมันอย่างสุดชีวิต

แต่ตอนนี้ฉันไม่รู้จะหนีไปทางไหน เพราะไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก ก็มีพวกมันเต็มไปหมด จะน้อยหน่อยก็ตรงแถวหน้าบ้านที่พอจะมีที่ให้หลบมุมจากพวกมันบ้าง ทุกวันนี้ฉันเลยจำใจต้องอยู่กับมันอย่างขยะแขยงจนเหลือจะทน

พอจะหลบพวกมันอยู่แถวหน้าบ้าน ก็ต้องมาทนกับกลิ่นเน่าเหม็นที่โชยคลุ้งไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นซอกไหนของเมือง กลิ่นมันก็ตามหลอกหลอนไปตลอด ป่วยการที่จะต้องหนี

คุณประชา คนข้างบ้านป่วยตายด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เจ็บป่วยได้แค่ 2-3 วัน ก็พาไปโรงพยาบาล แต่รักษาไม่ทัน เพราะคนป่วยเยอะมหาศาล แถมเจ้าหน้าที่ก็เจ็บป่วยและล้มตายไปหลายคน คุณประชาคอยคิวที่ยาวเหยียดได้ไม่ถึง 4 ชั่วโมงก็สิ้นใจตายคาอ้อมกอดเมีย

เพื่อนบ้านอีกหลายคน รวมทั้งพี่ชายฉันก็ป่วยด้วยโรคท้องร่วง บางคนถ่ายมากก็ช็อคตายไปก็มี ส่วนพี่ชายฉันโชคดีหน่อยที่ถ่ายไม่มาก อาการก็ทุเลา

" หนี " พี่ชายฉันบอก แต่ฉันบอกเขาว่าป่วยการที่จะหนี เพราะทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลต่างก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน ทั่วบ้านทั่วเมืองมีแต่สัตว์น่าขยะแขยงเต็มไปหมด กลิ่นก็เน่าเหม็นไปทั่ว อากาศก็เต็มไปด้วยเชื้อโรค สิ่งแวดล้อมต่างๆ เลวร้ายจนคนทะยอยตายไปทีละคนสองคน

พี่ฉันชวนฉันและครอบครัวหนึไปต่างจังหวัด ฉันบอกเขาว่า ข่าวที่ได้ยินมาว่า แต่ละจังหวัดก็มีสภาพใกล้จะเหมือนกรุงเทพฯ อยู่แล้ว และชาวบ้านก็พยายามผลักดันคนกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่ให้เข้ามา เพราะเกรงว่าปริมาณคนที่เพิ่มขึ้นจะสร้างปัญหาให้มากขึ้นอีก โดยเฉพาะคนเมืองหลวงและปริมณฑลนั้นติดสะดวกสบายที่สุด จึงเป็นตัวก่อปัญหามากที่สุด เลยพบจุดจบเร็วกว่าเพื่อน

ต่อมาสภาพเมืองหลวงยิ่งเลวร้ายขึ้นทุกวัน ฉันเริ่มป่วยขึ้นมาบ้าง ภูมิต้านทานตอนนี้แทบไม่มีเลย แม่ฉัน พ่อฉัน และคนข้างบ้านเริ่มป่วยไปด้วยโรคต่างๆ นาๆ ฉันคิดทบทวน เพราะคนเราแท้ๆ ที่ก่อปัญหา พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็ไม่แก้ กลับยิ่งก่อหนักขึ้นไปอีก เพราะความที่ติดสะดวกสบาย ติดสิ่งมอมเมาอื่นๆ จึงเอาเวลาส่วนใหญ่ทั้งหมดไปสนุกสนาน จนไม่คิดจะแก้ไขปัญหากัน แล้ววันนี้คีอวัน กรรมสนอง ของพวกเราทุกคน

พวกเรากำลังจะตาย ไม่มีที่หนี ไม่มีที่หลบ เพราะทุกหัวระแหงมีแต่ขยะเน่าเหม็น อุดมไปด้วยสัตว์แมลงพาหะเชื้อโรค อากาศมีแต่มลพิษและเชื้อโรคมากมาย มันเป็นหายนะอันมหันต์ที่กลับมาสนองผู้ที่ก่อ ซึ่งก็คือพวกเรานั่นเอง.


แก้ไขกันเถิด คุณแม่ขอร้อง
จากเรื่องสั้นที่ดิฉันจินตนาการขึ้น ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลยหากวันแห่งมหัตภัยร้ายมาถึง แทบไม่มีใครคิดเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณยังใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และทิ้งมันโดยไม่คิดว่าจะใช้ประโยชน์ต่อได้อีกหรือไม่ จะใช้อย่างไรให้นานๆ และคุ้มค่ามากที่สุด และจะนำมันกลับไปเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่นได้อย่างไร

ในแต่ละวันเมื่อทุกคนใช้ถุงพลาสติก และสิ่งของต่างๆ มักจะรีบทิ้งมันไปให้พ้นๆ ไม่อยากเสียเวลาไม่อยากเอาภาระใดๆ ต่อไปอีก เพราะเวลาที่เหลือจะต้องไปช็อปปิ้ง ไปสังสรรกับเพื่อนๆ ที่ผับ หรือ เอาไปเวลาไปดูหนังฟังเพลง ไปกรี๊ดนักร้องที่ตนเองชอบข้างขอบเวที หรือไปเล่นสนุ๊กเกอร์ ไปโยนโบว์ลิ่ง หรือแม้แต่จะต้องไปแก้แค้นเอาคืนกับช่างกลคู่อริ ในเมื่อทุกคนให้ค่ากับกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าเรื่องขยะมหันตภัยใกล้(จะถึง)ตัวเช่นนี้ละก้อ หนทางแก้คงลำบากจริงๆ ถ้าเรายังทำใจได้และทิ้งขยะกันอย่างขาดจิตสำนึกเช่นนี้กันไปเรื่อย ในไม่ช้าวันโลกาวินาศก็จะมาถึง และเรื่องที่ดิฉันจินตนาการขึ้นก็จะเป็นความจริง คนที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ ดิฉัน...คุณ รวมทั้งพวกเราทุกคนนั่นเอง
"แก้ไขกันเถิด คุณแม่ขอร้อง"

วิธีลดพิษภัยจากขยะ ก่อนจะสายเกินไป
คุณเคยได้ยิน 4 R บ้างหรือไม่ หลายท่านคงเคยได้ยินมาแล้ว หลายท่านอาจจะไม่เคยได้ยินเพราะไม่เคยสนใจ
ถึงเวลาแล้วนะคะที่ทุกท่านต้องร่วมมือกัน ในการประยุกต์ 4 R มาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่
1. Reduce ลดการใช้ปริมาณทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ทำอาหารให้พอดีกับการรับประทาน ใช้ตะกร้าแทนถุง
2. Repair การซ่อมแซมวัสดุเก่าที่ชำรุดมาใช้ ใช้วัสดุอย่างทะนุถนอมเพื่อให้ใช้ได้นานๆ เพื่อใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุดก่อนที่จะกลายเป็นขยะ
3. Reuse นำกลับมาใช้ใหม่ให้เป็นประโยชน์ เช่นถุงหิ้ว ก่อนจะทิ้งลงขยะ สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง และครั้งสุดท้ายสามารถนำมาบรรจุขยะสำหรับทิ้งได้
4. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การแยกขยะวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อนำไปขายให้แก่โรงงานผลิต เพื่อนำไปหลอมใหม่อย่างขวดแก้ว กระดาษ ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก

วิธีในการลดมวลขยะ(สำหรับภาครัฐ)
1. รัฐควรให้การสนับสนุนด้านการรณรงค์ให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกตามสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
2. ภาครัฐควรมีมาตราการรองรับสานต่อ หากภาคเอกชนและประชาชนให้ความร่วมมือในการลดปริมาณขยะ เพื่อให้ปัญหานี้มีการสนองตอบและมีการจัดการที่ครบวงจร เช่น ประสานงานโรงงานแก้ว โรงงานกระดาษ โรงงานพลาสติกในการนำขยะมาแปรรูปใหม่ การตั้งสถานีบริการรับขยะที่จะรีไซเคิลตามจุดต่างๆ อย่างทั่วถึงในเมืองตลอด 24 ชั่วโมง(ให้สะดวกเหมือนร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น หรือ ฟามิลี่มาร์ท)
3. จัดระบบการเก็บขยะใหม่ให้ดีกว่าปัจจุบัน สร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้เก็บขยะ ว่าเขาทำงานเก็บขยะไปเพื่อ อะไร และงานที่เขาทำนั้นสร้างคุณค่าให้แก่สังคมแค่ไหน เท่าที่เห็นการจัดเก็บขยะของเจ้าหน้าที่ยังเป็นแบบเหมาเข่งอยู่ เก็บจากถังแล้วก็โยนขึ้นไปรวมบนรถ เมื่อประชาชนบางส่วนที่มีจิตสำนึกทำการแยกขยะให้ แต่ผู้จัดเก็บยังโยนเข้ารวมกองๆ ปนเปกัน ประชาชนที่มีจิตสำนึกนั้นก็จะหมดกำลังใจ ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม สุดท้ายก็เลิกทำ ในที่สุดปัญหาก็จะไม่ได้แก้ไข

วิธีในการลดมวลขยะ(สำหรับเอกชน)
1. ภาคเอกชนควรรณรงค์ ออกกฎระเบียบในการดูแลเรื่องขยะในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ควรมีการแยกขยะประเภทต่างๆ ขยะบางประเภทสามารถสร้างรายได้เข้าองค์กรได้อีก
2. อาหารสดจากโรงอาหารที่ทิ้งแล้วควรแยกไว้ และถ้าเป็นไปได้ควรนำไปให้ภาคเอกชนที่กำลังดำเนินการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
3. ควรมีการอบรมปลูกจิตสำนึกในเรื่องการทำงาน และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเรื่องขยะที่กำลังเป็นปัญหาในสังคมในขณะนี้ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้าง ก็คือปัญหาหนึ่งที่ทุกคนในองค์กรควรรับรู้และควรช่วยกันแก้ไข ไม่ใช้โยนภาระนี้ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ไขเพียงคนเดียว
4. ผู้นำขององค์กรเอกชนควรสร้างจิตสำนึกเป็นตัวอย่าง ปฏิบัติให้ผู้น้อยดูเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างกระแสสิ่งที่ดีงาม และเป็นเครื่องชี้วัดว่าผู้นำองค์กรนี้มีความรับผิดชอบสูงต่อสังคม แสดงว่า ความรับผิดชอบต่อองค์กรและผู้น้อยที่ปฏิบัติงานในองค์กรย่อมสูงไปด้วย.
5.ภาคเอกชนที่มีส่วนในการใช้ถุงพลาสติกจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ควรสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ถุงกระดาษ หรือ รณรงค์ให้ประชาชนนำถุงหรืออุปกรณ์ใส่ของมาเอง เช่น อาจมีการลดราคาให้ หรือ มีการแถมสินค้าเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีกำลังใจในการลดปริมาณขยะ

วิธีในการลดมวลขยะ(ภาคประชาชน)
1. สร้างจิตสำนึกตนเองในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง เพราะตนเองเป็นผู้สร้าง ดังนั้นจึงต้องมีส่วนในการรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาโดยตรง หากไม่สามารถสร้างจิตสำนึกได้ ไม่มีความเพียรเพียงพอ ควรต้องพึ่งองค์กรเอกชนให้ช่วยปลุกจิตสำนึกเชิงบวกออกมา เช่น การเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ ซึ่งมูลนิธิหรือ หน่วยงานต่างๆ ในสังคมจะมีหลักสูตรอบรมออกมาเป็นระยะ
2.ลดการใช้ถุงพลาสติกลง ใช้ตะกร้าหรือถุงผ้าแทน
3. รณรงค์ตนเองลดการใช้ถุงพลาสติกในการใส่อาหาร เช่น นำปิ่นโต หรือกล่องพลาสติกไปใส่แทน นำตะกร้าไปใส่ผัก
4. ช่วยกันแยกขยะ และนำขยะที่ Recycle นำกลับไปขายสร้างรายได้อีก หรือจะนำขยะสะอาดที่ Recycle ได้บริจาคให้กับคนเก็บขยะขายก็ได้บุญเช่นกัน
5. นำวัสดุหรือพลาสติกที่จะทิ้งนำมาใช้ใหม่ เช่น ขวดน้ำนำมาล้างให้สะอาด นำมาใส่น้ำดื่มได้ ขวดหรือโหลแก้วจากพวกแยม สามารถนำมาล้างไว้ใส่น้ำตาลทราย พริกป่น หรือพริกไทยได้
6. ขยะสดนำมาหมักเป็นจุลินทรีชีวภาพได้ นั่นก็คือปุ๋ยชีวภาพโดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพไม่เป็นพิษ ต่อดิน สิ่งแวดล้อม และต่อผู้บริโภค และและถ้าเหลือจากการใช้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
7. ต้องรณรงค์คนในครอบครัวให้รู้จัก 4 R ในฐานะที่ทุกคนคือผู้สร้างปัญหานี้ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข.

อ้างอิง
http://www.geocities.com/rukloke/Environ4.htm

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552